วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วัสสการพราหมณ์ใช้ความไว้ใจเป็นอุบายทำลายความสามัคคี



ฉันทลักษณ์
               ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒


ภุชงคประยาตฉันท์หรือ ภุชงคปยาตฉันท์”  เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย  แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย  ท่านเรียกว่า “ภุชงคประยาตคาถา”  เป็นชคตีฉันท์ ฯ “ภุชงคประยาตะ”  แปลว่า  “คาถาที่มี ย คณะ    คณะ ติดต่อไปไม่ขาดสายเหมือนงูเลื้อยติดต่อกัน”  เป็นคาถา    บาท  ๆ ละ ๑๒  คำ  มีสูตรว่า  “ภุชงฺคปฺปยาตํ  ภเว  เวทเยหิ”  แปลความว่า  “คาถาที่มี  ย คณะ ๔ คณะ ชื่อว่า “ภุชงคปยาตะ
        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น  ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง    บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค มีบาทละ  ๑๒  คำ เพราะมีบาทละ ๑๒ คำนั้น จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๒” เมื่อได้ปรับปรุงแล้ว เพิ่มสัมผัสเข้าคือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป

บทประพันธ์
                                             ทิชงค์ชาติฉลาดยล                    คะเนกลคะนึงการ
                                  กษัตริย์ลิจฉวีวาร                                  ระวังเหือดระแวงหาย
                                            เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร          ปวัตน์วัญจโนบาย
                                   มล้างเหตุพิเฉทสาย                              สมัครสนธิ์สโมสร

ถอดความได้ว่า

พราหมณ์ผู้ฉลาดคาดคะเนว่ากษัตริย์ลิจฉวีวางใจคลายความหวาดระแวง  เป็นโอกาสเหมาะที่จะเริ่มดำเนินการตามกลอุบายทำลายความสามัคคี

โวหารภาพพจน์ :     บรรยายโวหาร
******************************
    
   ณวันหนึ่งลุถึงกา                       ลศึกษาพิชากร
         กุมารลิจฉวีวร                                    เสด็จพร้อมประชุมกัน
ตระบัดวัสสการมา                     สถานราชเรียนพลัน
          ธแกล้งเชิญกุมารฉัน                          สนิทหนึ่งพระองค์ไป

ถอดความได้ว่า

วันหนึ่งเมื่อถึงโอกาสที่จะสอนวิชา   กุมารลิจฉวีก็เสด็จมาโดยพร้อมเพรียงกัน  ทันใดวัสสการพราหมณ์ก็มาถึงและแกล้งเชิญพระกุมารพระองค์ที่สนิทสนมเข้าไปพบ

โวหารภาพพจน์ :     บรรยายโวหาร
******************************

                  ลุห้องหับรโหฐาน                      ก็ถามการณ์ ณ ทันใด
มิลี้ลับอะไรใน                                    กถาเช่นธปุจฉา
            จะถูกผิดกระไรอยู่                     มนุษย์ผู้กระทำนา
            และคู่โคก็จูงมา                                   ประเทียบไถมิใช่หรือ

ถอดความได้ว่า

                 เมื่อเข้าไปในห้องส่วนตัวแล้วก็ทูลถามเรื่องที่ไม่ใช่ความลับแต่ประการใด ดังเช่นถามว่า ชาวนาจูงโคมาคู่หนึ่งเพื่อเทียมไถใช่หรือไม่
โวหารภาพพจน์ :     สาธกโวหาร
******************************
                                                
                                                        กุมารลิจฉวีขัตติย์                      ก็รับอรรถอออือ
                                              กสิกเขากระทำคือ                              ประดุจคำพระอาจารย์
                                                       ก็เท่านั้นธเชิญให้                       นิวัตในมิช้านาน
                                              ประสิทธิ์ศิลป์ประศาสน์สาร             สมัยเลิกลุเวลา

ถอดความได้ว่า

         พระกุมารลิจฉวีก็รับสั่งเห็นด้วยว่าชาวนาก็คงจะกระทำดังคำของพระอาจารย์  ถามเพียงเท่านั้นพราหมณ์ก็เชิญให้เสด็จกลับออกไป  ครั้นถึงเวลาเลิกเรียน

โวหารภาพพจน์ :    สาธกโวหาร
******************************

                                                        อุรสลิจฉวีสรร                            พชวนกันเสด็จมา
                                                และต่างซักกุมารรา                            ชองค์นั้นจะเอาความ
                                                       พระอาจารย์สิเรียกไป                ณข้างในธไต่ถาม
                                              อะไรเธอเสนอตาม                              วจีสัตย์กะส่ำเรา

ถอดความได้ว่า

เหล่าโอรสลิจฉวีก็พากันมาซักไซ้พระกุมารว่าพระอาจารย์เรียกเข้าไปข้างใน ได้ไต่ถามอะไรบ้าง ขอให้บอกมาตามความจริง

โวหารภาพพจน์ :     สาธกโวหาร , บรรยายโวหาร
******************************

                                              กุมารนั้นสนองสา                        รวากย์วาทตามเลา
                                       เฉลยพจน์กะครูเสา                             วภาพโดยคดีมา
                                               กุมารอื่นก็สงสัย                          มิเชื่อในพระวาจา
                                       สหายราชธพรรณนา                          และต่างองค์ก็พาที

ถอดความได้ว่า

พระกุมารพระองค์นั้นก็เล่าเรื่องราวที่พระอาจารย์เรียกไปถาม  แต่เหล่ากุมารสงสัยไม่เชื่อคำพูดของพระสหาย  ต่างองค์ก็วิจารณ์

โวหารภาพพจน์ :      พรรณนาโวหาร
******************************

                                         ไฉนเลยพระครูเรา                      จะพูดเปล่าประโยชน์มี
                               เลอะเหลวนักละล้วนนี                          รผลเห็นบเป็นไป
                                           เถอะถึงถ้าจะจริงแม้                    ธพูดแท้ก็ทำไม
                                แนะชวนเข้าณข้างใน                             จะถามนอกบยากเย็น

ถอดความได้ว่า

วิจารณ์ว่าพระอาจารย์จะพูดเรื่องเหลวไหลไร้สาระเช่นนี้เป็นไปไม่ได้  และหากว่าจะพูดจริงเหตุใดจะต้องเรียกเข้าไปถามข้างในห้อง ถามข้างนอกห้องก็ได้

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                                  ชะรอยว่าทิชาจารย์                    ธคิดอ่านกะท่านเป็น
                       รหัสเหตุประเภทเห็น                           ละแน่ชัดถนัดความ
                              และท่านมามุสาวาท                     มิกล้าอาจจะบอกตา
                       พจีจริงพยายาม                                   ไถลแสร้งแถลงสาร

ถอดความได้ว่า

สงสัยว่าท่านอาจารย์กับพระกุมารต้องมีความลับอย่างแน่นอน  แล้วก็มาพูดโกหก  ไม่กล้าบอกตามความเป็นจริง  แกล้งพูดไปต่าง ๆ นานา

โวหารภาพพจน์ :     พรรณนาโวหาร
******************************

                                               กุมารราชมิตรผอง                      ก็สอดคล้องและแคลงดาล
                                      พิโรธกาจวิวาทการณ์                          อุบัติขึ้นเพราะขุ่นเคือง
                                             พิพิธพันธไมตรี                           ประดามีนิรันดร์เนือง
                                      กะองค์นั้นก็พลันเปลือง                      มลายปลาตพินาศปลง

ถอดความได้ว่า

กุมารลิจฉวีทั้งหลายเห็นสอดคล้องกันก็เกิดความโกรธเคือง  การทะเลาะวิวาทก็เกิดขึ้นเพราะความขุ่นเคืองใจ  ความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีมาตลอดก็ถูกทำลายย่อยยับลง

 โวหารภาพพจน์ :     พรรณนาโวหาร
******************************

ฉันทลักษณ์
                มาณวกฉันท์ ๘


มาณวกฉันท์เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “มาณวกคาถาท่านเป็นอนุฏฐุภาฉันท์ ฯ “มาณวกะ” แปลว่า “คาถาที่มีคณะใหม่อุปมาเหมือนคนหนุ่มเป็นฉันท์ที่มี ๘ บาท ๆ ละ ๘ คำ รวม ๓๒ คำ มีสูตรว่า  “ภา ตลคา มาณวกํ”  แปลความว่า  “คาถาที่ ต คณะ ลหุลอย และครุลอย  ต่อจาก ภ คณะ ชื่อว่ามาณวกะ
       ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำเอาสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาทั้ง ๔ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค เพราะบาทหนึ่งมี ๘ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๘” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ ของวรรคที่ ๖, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๖ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๗, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๘ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป

บทประพันธ์
                                                     ล่วงลุประมาณ                              กาลอนุกรม
                                            หนึ่งณนิยม                                            ท่านทวิชงค์
                                            เมื่อจะประสิทธิ์                                      วิทยะยง
                                            เชิญวรองค์                                              เอกกุมาร

ถอดความได้ว่า

               เวลาผ่านไปตามลำดับ เมื่อถึงคราวที่จะสอนวิชาก็จะเชิญพระกุมารพระองค์หนึ่ง 

 โวหารภาพพจน์ :   บรรยายโวหาร
******************************

                                                     เธอจรตาม                                     พราหมณไป
                                          โดยเฉพาะใน                                           ห้องรหุฐาน
                                          จึ่งพฤฒิถาม                                              ความพิสดา
                                          ขอธประทาน                                            โทษะและไข

ถอดความได้ว่า

              พระกุมารก็ตามพราหมณ์เข้าไปในห้องเฉพาะ  พราหมณ์จึงถามเนื้อความแปลก ๆ ว่า ขออภัย ช่วยตอบด้วย

โวหารภาพพจน์ :     บรรยายโวหาร
******************************
                                                    
                                                      อย่าติและหลู่                                  ครูจะเฉลย
                                           เธอน่ะเสวย                                               ภัตกะอะไร
                                          ในทินนี่                                                     ดีฤไฉน
                                          พอหฤทัย                                                  ยิ่งละกระมัง

ถอดความได้ว่า

อย่าหาว่าตำหนิหรือลบหลู่  ครูขอถามว่าวันนี้พระกุมารเสวยพระกระยาหารอะไร รสชาติดีหรือไม่ พอพระทัยมากหรือไม่ 

โวหารภาพพจน์ :     บรรยายโวหาร
******************************

                                                        ราชธก็เล่า                                        เค้าณประโยค
                                              ตนบริโภค                                                 แล้วขณะหลัง
                                              วาทะประเทือง                                          เรื่องสิประทัง
                                              อาคมยัง                                                    สิกขสภา

ถอดความได้ว่า

              พระกุมารก็เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระกระยาหารที่เสวย  หลังจากนั้นก็สนทนาเรื่องทั่วไป  แล้วก็เสด็จกลับออกมายังห้องเรียน

 โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                เสร็จอนุศาสน์                                     ราชอุรส
          ลิจฉวิหมด                                                    ต่างธก็มา
             ถามนยมาน                                                 ท่านพฤฒิอา
           จารยปรา                                                       รภกระไร

ถอดความได้ว่า

แล้วก็เสด็จกลับออกมายังห้องเรียน  เมื่อเสร็จสิ้นการสอนราชกุมารลิจฉวีทั้งหมดก็มาถามเรื่องราวที่มีมาว่าท่านอาจารย์ได้พูดเรื่องอะไรบ้าง

 โวหารภาพพจน์ :           บรรยายโวหาร
******************************

                                              เธอก็แถลง                                        แจ้งระบุมวล
                                    ความเฉพาะล้วน                                        จริงหฤทัย
                                    ต่างบมิเชื่อ                                                 เมื่อตริไฉน
                                    จึ่งผลใน                                                     เหตุบมิสม

ถอดความได้ว่า

 พระกุมารก็ตอบตามความจริง  แต่เหล่ากุมารต่างไม่เชื่อ  เพราะคิดแล้วไม่สมเหตุสมผล

โวหารภาพพจน์ :     พรรณนาโวหาร
******************************

                                                ขุ่นมนเคือง                                          เรื่องนฤสาร
                                        เช่นกะกุมาร                                                ก่อนก็ระ
                                        เลิกสละแยก                                               แตกคณะกล
                                       เกลียวบนิยม                                               คบดุจเดิม

ถอดความได้ว่า

ต่างขุ่นเคืองใจด้วยเรื่องไร้สาระเช่นเดียวกับพระกุมารพระองค์ก่อน  และเกิดความแตกแยกไม่คบกันอย่างกลมเกลียวเหมือนเดิม

โวหารภาพพจน์ :        พรรณนาโวหาร
******************************

ฉันทลักษณ์
               อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑


อุเปนทรวิเชียรฉันท์ เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า อุเปนทรวิเชียรคาถา เป็นติฏฐุภาฉันท์ ฯ อุเปนทรวิเชียร แปลว่า คาถาที่มีคณะฉันท์ใกล้เคียงกับอินทรวิเชียร เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๑ คำ มีสูตรว่า อุปาทิกา สาว ชตา ชคาโค แปลว่า คาถาที่มี ช คณะ ต คณะ ช คณะ และครุลอย ๒ ชื่อว่า
อุเปนทรวิเชียร
        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค เพราะมีบาทละ ๑๑ คำ จึงเรียกว่า ฉันท์ ๑๑ แล้วเพิ่มสัมผัสเข้ากำหนดอย่างเดียวกับอินทรวิเชียรฉันท์

บทประพันธ์
                                           ทิชงค์เจาะจงเจตน์                        กลห์เหตุยุยงเสริม
                               กระหน่ำและซ้ำเติม                                  นฤพัทธก่อการณ์
                                              ละครั้งระหว่างครา                    ทินวารนานนาน
                                เหมาะท่าทิชาจารย์                                   ธก็เชิญเสด็จไป

ถอดความได้ว่า
             
พราหมณ์เจตนาหาเหตุยุแหย่ซ้ำเติมอยู่เสมอ ๆ  แต่ละครั้ง แต่ละวัน นานนานครั้ง  เห็นโอกาสเหมาะก็จะเชิญพระกุมารเสด็จไป

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                                           บห่อนจะมีสา                                  รฤหาประโยชน์ไร
                                 กระนั้นเสมอนัย                                       เสาะแสดงธแสร้งถาม
                                          และบ้างก็พูดว่า                               น่ะแน่ะข้าสดับตาม
                                ยุบลระบิลความ                                        พจแจ้งกระจายมา

ถอดความได้ว่า

ไม่มีสารประโยชน์อันใด  แล้วก็แกล้งทูลถาม  บางครั้งก็พูดว่า นี่แน่ะข้าพระองค์ได้ยินข่าวเล่าลือกันทั่วไป

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                                                  ละเมิดติเตียนท่าน                           ก็เพราะท่านสิแสนสา
                                         รพัดทลิทภา                                             วและสุดจะขัดสน
                                                 จะแน่มิแน่เหลือ                               พิเคราะห์เชื่อเพราะยากยล
                                        ณที่บมีคน                                                 ธก็ควรขยายความ

ถอดความได้ว่า

เขานินทาพระกุมารว่าพระองค์แสนจะยากจนและขัดสน  จะเป็นเช่นนั้นแน่หรือ  พิเคราะห์แล้วไม่น่าเชื่อ  ณ ที่นี้ไม่มีผู้ใด ขอให้ทรงเล่ามาเถิด 

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                                                 และบ้างก็กล่าวว่า                            น่ะแน่ะข้าจะขอถาม
                                         เพราะทราบคดีตาม                                  วจลือระบือมา
                                                 ติฉินเยาะหมิ่นท่าน                          ก็เพราะท่านสิแสนสา
                                        รพันพิกลกา                                              ยพิลึกประหลาดเป็น

ถอดความได้ว่า

บางครั้งก็พูดว่าข้าพระองค์ขอทูลถามพระกุมาร  เพราะได้ยินเขาเล่าลือกันทั่วไปเยาะเย้ยดูหมิ่นท่าน  ว่าท่านนี้มีร่างกายผิดประหลาดต่าง ๆ นานาจะเป็นจริงหรือไม่

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                                                     จะจริงมิจริงเหลือ                           มนเชื่อเพราะไป่เห็น
                                           ผิข้อบลำเค็ญ                                            ธก็ควรขยายความ
                                                     กุมารองค์เสา                                  วนเค้าคดีตาม
                                          กระทู้พระครูถาม                                       นยสุดจะสงสัย

ถอดความได้ว่า

ใจไม่อยากเชื่อเลยเพราะไม่เห็น   ถ้าหากมีสิ่งใดที่ลำบากยากแค้นก็ตรัสมาเถิด   พระกุมารได้ทรงฟังเรื่องที่พระอาจารย์ถามก็ตรัสถามกลับว่า  สงสัยเหลือเกิน

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                                           ก็คำมิควรการณ์                              คุรุท่านจะถามไย
                               ธซักเสาะสืบใคร                                        ระบุแจ้งกะอาจารย์
                                         ทวิชแถลงว่า                                    พระกุมารโน้นขาน
                               ยุบลกะตูกาล                                             เฉพาะอยู่กะกันสอง

ถอดความได้ว่า

เรื่องไม่สมควรเช่นนี้ท่านอาจารย์จะถามทำไม  แล้วก็ซักไซ้ว่าใครเป็นผู้มาบอกกับอาจารย์  พราหมณ์ก็ตอบว่าพระกุมารพระองค์โน้นตรัสบอกเมื่ออยู่กันเพียงสองต่อสอง

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร            
******************************

                                                กุมารพระองค์นั้น                                 ธมิทันจะไตร่ตรอง
                                       ก็เชื่อณคำของ                                                พฤฒิครูและวู่วาม
                                                พิโรธกุมารองค์                                    เหมาะเจาะจงพยายาม           
                                       ยุครูเพราะเอาความ                                  บมิดีประเดตน

ถอดความได้ว่า

กุมารพระองค์นั้นไม่ทันได้ไตร่ตรอง  ก็ทรงเชื่อในคำพูดของอาจารย์  ด้วยความวู่วามก็กริ้วพระกุมารที่ยุพระอาจารย์ใส่ความตน  

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                                                    ก็พ้อและต่อพิษ                                ทุรทิฐิมานจน
                                         ลุโทสะสืบสน                                             ธิพิพาทเสมอมา
                                                    และฝ่ายกุมารผู้                                ทิชครูมิเรียกหา
                                          ก็แหนงประดารา                                       ชกุมารทิชงค์เชิญ

ถอดความได้ว่า

จึงตัดพ้อต่อว่ากันขึ้น  เกิดความโกรธเคืองทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอฝ่ายพระกุมารที่พราหมณ์ไม่เคยเรียกเข้าไปหาก็ไม่พอพระทัยพระกุมารที่พราหมณ์เชิญไปพบ

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร            
******************************

                                           พระราชบุตรลิจ                               ฉวิมิตรจิตเมิน
                                 ณกันและกันเหิน                                       คณะห่างก็ต่างถือ
                                            ทะนงชนกตน                                 พลล้นเถลิงลือ
                                  ก็หาญกระเหิมฮือ                                      มนฮึกบนึกขาม

ถอดความได้ว่า

พระกุมารลิจฉวีหมางใจและเหินห่างกัน  ต่างองค์ทะนงว่าพระบิดาของตนมีอำนาจล้นเหลือ  จึงมีใจกำเริบไม่เกรงกลัวกัน

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร            
******************************

ฉันทลักษณ์
               สัทธราฉันท์ ๒๑


สัทธราฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ในสมวุตตินิเทศ ท่านเรียกว่า “สัทธราคาถาเป็นปกติฉันท์ ฯ สัทธรา” แปลว่า “คาถาที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการฟัง”  เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๒๑ คำ มีสูตรว่า “มฺรา ภฺนา โย โยตฺร เยนตฺ, ติมุนิยติยุตา, สทฺธรา กิตฺติตายํ” แปลว่า “คาถาที่มี ม คณะ  ร คณะ ภ คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ และ ย คณะ มีจังหวะหยุด ๗ พยางค์ ๓ ครั้ง ท่านเรียกว่า
สัทธรา” ในสมวุตตินิเทศนี้” 
        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๑ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค รวม ๒๑ คำ เพราะรวมทั้งบทมี ๒๑ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๒๑” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓,   และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป

บทประพันธ์
                                                      ลำดับนั้นวัสสการพราหมณ์               ธก็ยุศิษยตาม
                                            แต่งอุบายงาม                                                ฉงนงำ
                                                        ปวงโอรสลิจฉวีดำ                              ริณวิรุธก็สำ
                                             คัญประดุจคำ                                                 ธเสกสรร

ถอดความได้ว่า

          ในขณะนั้นวัสสการพราหมณ์ก็คอยยุลูกศิษย์  แต่งกลอุบายให้เกิดความแคลงใจ  พระโอรสกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายไตร่ตรองในอาการน่าสงสัยก็เข้าใจว่าเป็นจริงดังถ้อยคำที่อาจารย์ปั้นเรื่องขึ้น

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร            
******************************

                                                     ไป่เหลือเลยสักพระองค์อัน                 มิละปิยะสหฉันท์
                                              ขาดสมัครพันธ์                                           ก็อาดูร
                                                        ต่างองค์นำความมิงามทูล                 พระชนกอดิศูร
                                              แห่งธโดยมูล                                              ปวัตติ์ความ

ถอดความได้ว่า

ไม่มีเหลือเลยสักพระองค์เดียวที่จะมีความรักใคร่กลมเกลียว  ต่างขาดความสัมพันธ์ เกิดความเดือดร้อนใจ  แต่ละองค์นำเรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นไปทูลพระบิดาของตน

โวหารภาพพจน์ :      อุปมาโวหาร
******************************
                               
                                       แตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ายปาม                ลุวรบิดรลาม
                            ทีละน้อยตาม                                               ณเหตุผล
                                      ฟั่นเฝือเชื่อนัยดนัยตน                       นฤวิเคราะหเสาะสน
                         สืบจะหมองมล                                             เพราะหมายใด

ถอดความได้ว่า

ความแตกแยกก็ค่อย ๆ ลุกลามไปสู่พระบิดา  เนื่องจากความหลงเชื่อโอรสของตน  ปราศจากการใคร่ครวญเกิดความผิดพ้องหมองใจกันขึ้น

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร            
******************************

                                           แท้ท่านวัสสการใน                             กษณะตริเหมาะไฉน
                                เสริมเสมอไป                                                      สะดวกดาย
                                          หลายอย่างต่างกลธขวนขวาย              พจนยุปริยาย
                               วัญจโนบาย                                                    บเว้นครา

ถอดความได้ว่า

ฝ่ายวัสสการพราหมณ์ครั้นเห็นโอกาสเหมาะสมก็คอยยุแหย่อย่างง่ายดาย  ทำกลอุบายต่าง ๆ พูดยุยงตามกลอุบายตลอดเวลา

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร            
******************************

                                                         ครั้นล่วงสามปีประมาณมา                  สหกรณประดา
                                                 ลิจฉวีรา                                                        ชทั้งหลาย
                                                           สามัคคีธรรมทำลาย                           มิตรภิทนะกระจาย
                                                สรรพเสื่อมหายน์                                          ก็เป็นไป

ถอดความได้ว่า

เวลาผ่านไปประมาณ ๓ ปี  ความร่วมมือกันระหว่างกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายและความสามัคคีถูกทำลายลงสิ้น  ความเป็นมิตรแตกแยก ความเสื่อม ความหายนะก็บังเกิดขึ้น

โวหารภาพพจน์ :      พรรณนาโวหาร         
******************************

                                                            ต่างองค์ทรงแคลงระแวงใน          พระราชหฤทยวิสัย
                                             ผู้พิโรธใจ                                                     ระวังกัน

ถอดความได้ว่า

กษัตริย์ต่างองค์ระแวงแคลงใจ  มีความขุ่นเคืองใจซึ่งกันและกัน

โวหารภาพพจน์ :      พรรณนาโวหาร         
******************************

ฉันทลักษณ์
                สาลินีฉันท์ ๑๑


สาลินีฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “สาลินีคาถา” เป็นติฏฐุภาฉันท์ ฯสาลินี” แปลว่า “คาถาที่มีสาระกว่าคาถาก่อน เพราะมีครุมากกว่าเดิม และมีจังหวะเพิ่มขึ้น มีสูตรว่า “เวทสฺเสหิ, มฺตา ตฺคคา สาลินี สา” แปลว่า “คาถาที่มี ม คณะ ต คณะ ต คณะ และครุลอย ๒ มีจังหวะหยุด ๔ และ ๗ พยางค์ ชื่อว่า “สาลินีคาถา
        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค มีบาทละ ๑๑ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๑” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป

บทประพันธ์
                                             พราหมณ์ครูรู้สังเกต                   ตระหนักเหตุถนัดครัน
                             ราชาวัชชีสรร                                              พจักสู่พินาศสม
                                            ยินดีบัดนี้กิจ                                จะสัมฤทธิ์มนารมณ์
                            เริ่มมาด้วยปรากรม                                     และอุตสาหแห่งตน

ถอดความได้ว่า

พราหมณ์ผู้เป็นครูสังเกตเห็นดังนั้น  ก็รู้ว่าเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีกำลังจะประสบความพินาศ  จึงยินดีมากที่ภารกิจประสบผลสำเร็จสมดังใจ  หลังจากเริ่มต้นด้วยความบากบั่นและความอดทนของตน

โวหารภาพพจน์ :      พรรณนาโวหาร         
******************************

                                          ให้ลองตีกลองนัด                        ประชุมขัตติย์มณฑล
                            เชิญซึ่งส่ำสากล                                          กษัตริย์สู่สภาคาร
                                            วัชชีภูมีผอง                                สดับกลองกระหึมขาน
                            ทุกไท้ไป่เอาภาร                                         ณกิจเพื่อเสด็จไป

ถอดความได้ว่า

จึงให้ลองตีกลองนัดประชุมกษัตริย์ฉวี  เชิญทุกพระองค์เสด็จมายังที่ประชุม  ฝ่ายกษัตริย์วัชชีทั้งหลายทรงสดับเสียงกลองดังกึกก้อง  ทุกพระองค์ไม่ทรงเป็นธุระในการเสด็จไป 

โวหารภาพพจน์ :      พรรณนาโวหาร         
******************************
            
                                                 ต่างทรงรับสั่งว่า                         จะเรียกหาประชุมไย
                                  เราใช่เป็นใหญ่ใจ                                       ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ
                                                 ท่านใดที่เป็นใหญ่                       และกล้าใครมิเปรียบปาน
                                 พอใจใคร่ในการ                                         ประชุมชอบก็เชิญเขา

ถอดความได้ว่า

ต่างองค์รับสั่งว่าจะเรียกประชุมด้วยเหตุใด  เราไม่ได้เป็นใหญ่ ใจก็ขลาด ไม่กล้าหาญ  ผู้ใดเป็นใหญ่ มีความกล้าหาญไม่มีผู้ใดเปรียบได้ พอใจจะเสด็จไปร่วมประชุมก็เชิญเขาเถิด 

โวหารภาพพจน์ :      พรรณนาโวหาร,อุปมาโวหาร
******************************

                                            ปรึกษาหารือกัน                          ไฉนนั้นก็ทำเนา
                             จักเรียกประชุมเรา                                      บแลเห็นประโยชน์เลย
                                          รับสั่งผลักไสส่ง                            และทุกองค์ธเพิกเฉย
                           ไป่ได้ไปดั่งเคย                                            สมัครเข้าสมาคม

ถอดความได้ว่า

                จะปรึกษาหารือกันประการใดก็ช่างเถิด  จะเรียกเราไปประชุมมองไม่เห็นประโยชน์ประการใด             เลยรับสั่งให้พ้นตัวไป  และทุกพระองค์ก็ทรงเพิกเฉยไม่เสด็จไปเข้าร่วมการประชุมเหมือนเคย

โวหารภาพพจน์ :      พรรณนาโวหาร,อุปมาโวหาร
******************************

ฉันทลักษณ์
               อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑


อุปัฏฐิตาฉันท์เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย ปรากฏในคัมภีร์วฤตตรัตนากร เรียกว่า อุปัฏฐิตาคาถา ในติฏฐุภาฉันท์ ๑๑ ซึ่งแปลว่า “คาถาที่มีเสียงชัดเจน เพราะประกอบด้วย ต คณะเป็นต้น” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๑ คำ มีสูตรว่า “ตฺชา ชฺคา ครุนายมุปฏฺิโตตฺตา” แปลว่า “คาถาที่มี ต คณะ ช คณะ ช คณะ และครุลอย ๒ ตัว เรียกว่า “อุปัฏฐิตา
        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านกำหนดนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค เพราะมีบาทละ ๑๑ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๑” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป 

บทประพันธ์

                                               เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง                   ชนะคล่องประสบสม
                                พราหมณ์เวทอุดม                                        ธก็ลอบแถลงการณ์
                                               ให้วัลลภชน                                  คมดลประเทศฐาน
                                กราบทูลนฤบาล                                           ภิเผ้ามคธไกร

ถอดความได้ว่า

                เมื่อพิจารณาเห็นช่องทางที่จะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย  พราหมณ์ผู้รอบรู้พระเวทก็ลอบส่งข่าว  ให้คนสนิทเดินทางกลับไปยังบ้านเมือง  กราบทูลกษัตริย์แห่งแคว้นมคธอันยิ่งใหญ่

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร
******************************

                                                    แจ้งลักษณสา                               สนว่ากษัตริย์ใน
                                    วัชชีบุรไกร                                                  วลหล้าตลอดกัน
                                                   บัดนี้สิก็แตก                                 คณะแผกและแยกพรรค์
                                   ไป่เป็นสหฉัน                                                ทเสมือนเสมอมา

ถอดความได้ว่า

ยิ่งใหญ่  ในสาสน์แจ้งว่ากษัตริย์วัชชีทุกพระองค์ขณะนี้เกิดความแตกแยก แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่สามัคคีกันเหมือนแต่เดิม

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร , อุปมาโวหาร
******************************

                                            โอกาสเหมาะสมัย                        ขณะไหนประหนึ่งครา
                            นี้หากผิจะหา                                               ก็บได้สะดวกดี
                                            ขอเชิญวรบาท                             พยุห์ยาตรเสด็จกรี
                           ธาทัพพลพี                                                  ริยยุทธโดยไว

ถอดความได้ว่า

จะหาโอกาสอันเหมาะสมครั้งใดเหมือนดังครั้งนี้คงจะไม่มีอีกแล้ว  ขอทูลเชิญพระองค์ยกกองทัพอันยิ่งใหญ่มาทำสงครามโดยเร็วเถิด

โวหารภาพพจน์ :      บรรยายโวหาร , อุปมาโวหาร
******************************





3 ความคิดเห็น:

  1. If you're trying hard to lose pounds then you certainly have to try this totally brand new personalized keto diet.

    To create this keto diet, certified nutritionists, fitness couches, and cooks joined together to develop keto meal plans that are productive, decent, cost-efficient, and fun.

    Since their grand opening in January 2019, thousands of clients have already completely transformed their figure and health with the benefits a certified keto diet can give.

    Speaking of benefits: in this link, you'll discover 8 scientifically-certified ones offered by the keto diet.

    ตอบลบ
  2. ขอบพระคุณค่ะ สุดยอดของความกระจ่างเลยค่ะ

    ตอบลบ